ธรรมะจากหลวงปู่

ธรรมมะปฏิบัติ โดย หลวงปู่เนตร จิรปุญโญ

        "สติ สมาธิ อารมณ์ เรามีสติ คือ ความระลึกได้ รู้ตัว เรามีสมาธิหรือไม่ เรารู้ มันมีอารมณ์อะไรอยู่ อยู่กับอารมณ์อะไร มันมีสามอย่าง เห็นมั้ย พอมันเป็นแบบนั้นแล้วนั่นนะ มันมีสามอย่าง มันได้สมาธิ ในสมาธิ มันก็ต้องให้มีสติ รู้แหละว่านี่มีสมาธิ สมาธิแบบไหน สามอย่าง สมาธิ แล้วมันอยู่กับอารมณ์อะไร เรามาพิจารณา เราต้องรู้ มันอยู่กับอารมณ์ดีหรืออยู่อารมณ์ชั่ว ถ้าอารมณ์ชั่ว ผิดแหละ ถ้าอารมณ์ดี อยู่ในกายพวกนี้ ในร่างกายเรา ก็ถูกแหละ พิจารณาแยบคาย แล้วจิตมั่นจะตั้งมั่น ตั้งมั่นแล้วมันจะได้นาน ได้นานแล้วความชัดมันก็ชัดแหละ ทีนี้มันมีปีติ อิ่มอกอิ่มใจ มีหลายอย่าง ตัวลอยก็ได้ ตัวหายไป ไม่มี แต่นั่นมันมีสติรู้อยู่ ตัวนี้หายแล้ว แสดงว่านั่น ปีติ แหละ อิ่มอกอิ่มใจ เราต้องการจะให้เป็นอย่างนั้น สมาธิ ใช่มั้ย แล้วมันเป็น พอเป็น พอใจ"

        "พอเป็นสมาธิแล้วมันสบาย บางคนตัวลอย บางคนก็ขนลุกขนชัน มันมีหลายอย่างปีติ ขนลุกขนชัน คล้ายๆกับว่าเราจะกลัวอะไรซักอย่าง ขนชันหมด เย็น ไอ้นี่เป็นพวกปีติ ความอิ่มอกอิ่มใจ ที่เราได้ทำมันเป็น เพราะเราปราถนาสิ่งนั้น ก่อนทำเราปราถนา ปราถนาว่าให้เป็น เป็นสมาธิ แล้วถึงมันเป็น พอเป็นแล้วอิ่มอกอิ่มใจ ถ้าเป็นนาน คราวนี้เราพิจารณา มันชัด จิตมันแน่วแน่ แต่ว่านั่นแหละ เราต้องมีสติกำกับ ว่ามันแน่วแน่นั่นมันแน่วแน่ในอารมณ์อะไร ถ้าในอารมณ์ที่ไม่ดี อันนั้นผิดแล้ว เรามีสติระลึกได้ หมด แต่ถ้าอยู่ในกายนี้แล้ว ไม่ผิด ให้รู้ให้หมดนี่เรื่องของกาย พอเป็นสมาธิให้รู้ให้หมดเรื่องของกาย มันมีอะไร เรียกว่าอะไร ธาตุสี่ พอนั่นทีนี้ พอรู้เรื่องของกาย เป็นเรื่องของนาม จิตอันนี้ ให้รู้จิตรู้ใจ ถ้าใจมันสงบ มันถึงที่สงบมันแล้ว นั่นคือที่อยู่มัน มันเข้าถึงใจ พอมันเข้าถึงใจทีนี้ทำอย่างไร ทำอย่างไรให้ใจเป็นกลาง"

        " เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้น กามคุณ โลกธรรม กำเนิดทั้งสี่ คือการเกิด เราเป็นกลางได้มั้ย โลกธรรม สุข ทุกข์ สรรเสริญ นินทา ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ เราทำใจให้เป็นกลางได้มั้ย ถ้าเราทำใจให้เป็นกลางได้ เราพ้นทุกข์แล้ว เราไม่กังวล เราไม่คิด เราไม่คิดกับโลกธรรม ว่าโลกธรรมมันไปตามนั้น ดีแล้ว คนชอบก็ยกย่องสรรเสริญ คนไม่ชอบก็ตำหนิติเตียน อันนี้เป็นธรรมชาติมัน แต่ถ้าว่าใจเราเป็นกลางไม่ได้ เราเป็นทุกข์ เวลาเขายกย่องเรา เราก้าดีใจ เวลาเขาตำหนิเรา เราเสียใจ โกรธขึ้น นี่ใช้ไม่ได้ เราแพ้โลกธรรม เรียบร้อย วนอยู่ ไม่รู้จักทาง กามคุณ รูป เสียง กลิ่น รส การสัมผัส กามคุณห้า เมื่อมาสัมผัสแบบนี้ เราทำใจเป็นกลางได้มั้ย ถ้าทำได้แสดงว่าเราต่อสู้กามคุณนี้ได้ จิตมันไม่ติด มันไม่ติดกามคุณ ทำแล้วมันไม่ติดไม่กังวล เมื่อไม่กังวล มันก็ไม่เป็นทุกข์ ถ้าเราพิจารณากำเนิดทั้งสี่ เกิดในครรภ์ ในไข่ ในของปฏิกูล เกิดผุบโผล่ เหมือนเทวดาเกิด เขาเรียกว่าเกิดผุบโผล่ เรายินดีมั้ย ถ้าเรายินดี เรากังวลแหละ ถ้าเรากังวลก็แน่นอนแล้ว เราเป็นทุกข์ เราก็ต้องมาเกิด สี่ประเภทนี้แหละ คือถ้ายึดติด มันก็ต้องกังวล เราพยายามทำอย่าให้มันยึดติด ในสามอย่างนี้แหละ ยังไม่ต้องเอาอย่างอื่นก่อน"

        "ให้ตรวจเรื่องของกายของเราก่อน พอตรวจกายแล้วรู้เรื่องแหละ นะ มีธาตุสี่ รูปนาม มาผสมกัน ทั้งรูปทั้งนาม แล้วตรวจกาย กาย อย่างเช่นว่า กายเราจะทำดีหรือทำชั่ว อย่างไร นี่แหละ พิจารณา ทำชั่วมันก็ไม่ถูก ทำดีมันก็ไม่ถูก ทำชั่วมันก็ไม่ตกนรก ไปสวรรค์ไปนิพพาน คือใจ ไอ้กายนั่นมันธาตุสี่ มันแตกสลาย มันก็ไป เหมือนกับฟองน้ำ ฟองน้ำมันเกิด เกิดจากน้ำ พอมันดับก็กลายเป็น้ำ ถึงพยับแดด มันเกิดจากความร้อนของแดด พอมันหาย มันก้ากลายเป็นแดดนั้นแหละ อย่างธาตุก็เหมือนกัน มันเกิดจากธาตุสี่ พอมันแตกสลายแล้ว มันก็ไปเป็นธาตุสี่นั่นแหละอีก มันไม่ไปหรอกนรก มันไม่ไปหรอกนิพพาน แต่ที่ไปนั่นคือใจ ปล่อยวางตรงนี้แหละ ทั้งรูปด้วย ทั้งนามด้วย นามคือใจนั่นแหละ นะ แล้วเราก็เข้าใจแหละทีนี้ ถ้ากายเป็นอย่างไร ถ้ารู้จักแล้วก็ ปล่อยธรรมดา คนที่เขาเล่น เขามีกำลัง เขาแยกออก เขาแยกธาตุสี่ แยกออก รูปกับนาม เป็นคนม้าย เดี๋ยวมันรวมอีก เอากำลังจิตนี่ ใช้กำลังจิตแค่เป็นสมาธิ กำลังมันแรง รวมกาย คอยระวัง เวลามีเรื่อง รีบตัดเสีย เช่นว่า เจ็บไข้ ไม่สบายนะ เราแยก เราจะอยู่หรือจะไป ธาตุขันธ์ แยกออก ถ้ามันออกแล้ว ถ้ามันรวมเข้า แสดงว่าไม่ตาย แต่ถ้าไม่เข้า ตาย"

        "โลกธรรม กามคุณ อันนี้มันมีประจำ ตั้งแต่เกิดมาทุกคนแหละ นะ แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง เกิดมามีเหมือนกัน เกิดตาย เท่าแต่ว่า เกิดแล้วไม่ดับ ดับแล้วไม่เกิด อันนั้นโลกุตตระธรรม เกิดแล้วไม่ดับ ดับแล้วไม่เกิด จริงๆ ท่านผู้ที่ดับแล้วไม่เกิด ดับแล้ว สิ้นทุกข์ จบ แล้วศาสนาจบนั่นแหละ ชาตินี้คือชาติสุดท้าย ถ้าใครได้นั้น ชาตินี้คือชาติสุดท้าย ไม่เกิด ได้ไปเสวยสุข อย่างเดียว สุขนั้น เวลา แสดงว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มันถึงโลกุตตระ พวกนี้ทำมาแล้ว ไม่เหมือนกับโลกียะ โลกุตฯนี้ ไม่เปลี่ยนแปลง จึงว่า แต่ก่อนจะได้นั้นเราต้องเข้าใจไอ้นี่ก่อน ให้เข้าใจธรรมมะ พอเราแก่ตัวมันแก้ได้ ถ้าเราไม่เข้าใจเราก็แก้ไม่ได้ ตรงนี้ คือว่า คนถ้าทำเป็นแล้ว มันนึกถึงหลักความจริงของศาสนา ถ้ายังไม่เป็น เรียกว่า ยังลูบคลำ คันถ้ามันเป็นแล้ว รู้จักความจริงของศาสนาแล้ว ไม่ถอย ศาสนาอื่น ไม่เอา คือเราทำไปสังคมไป เพื่อสังคมเฉยๆ แต่เราหานับถือ เราอยู่แบบนี้ เราอยู่ท่ามกลางแขก เขามาขอ เราให้ แต่เราไม่ได้นับถือเขา สร้างห้องมะหยัง ห้องละหมาด สามสี่พัน เขาจัดงาน ห้องละหมาดของเด็ก เด็กมันบอกว่า กลับบ้านละหมาด แต่มันหนี ถูกจับได้ เวลาให้มันละหมาด ต้องให้มันอยู่แต่ในโรงเรียน เขาจับได้ นี่เราทำเพื่อสังคม ไม่ใช่ทำเพื่อนับถือ สงเคราะห์ เกี่ยวกับโลกนี้ ถ้านับถือ เราไม่ได้นับถือ ไม่ใช่การนับถือ"

        "เราเกิดมาก็ถึงโลกธรรม เกิดมาแล้วให้เขารักทุกคน เป็นไปไม่ได้ จะให้เขาเกลียดหมดทุกคน ก็เป็นไปไม่ได้ คนที่ตัดสินแล้วทำใจเป็นกลางแล้วก็มีปัญญาพิจารณา ให้เขารักทุกคนเป็นไปไม่ได้ ให้เขาเกลียดทุกกคนก็เป็นไปไม่ได้ โลกมันเป็นแบบนั้น คนที่อยู่ร่วมกันได้ทำร่วมกัน มันพบกัน คนที่ไม่ร่วมกัน ถึงพบก็มันปล่อยอยู่ดีนั่นแหละ ไม่ได้ร่วมกัน มันกลับไปหาพวก ดูพระพุทธเจ้าท่านดัดนิสัยคน พราหมณ์คนนี้ เจ้านี้ สอนได้ พระองค์สั่งสอน ก่อนจะสั่งสอนนั้น เขาดีแล้ว ไม่ใช่สั่งสอนแล้วเจ้าของเองไม่ฟัง ดีแต่พูดเจ้าของเองหาทำไม่ได้ (หัวเราะ) ไม่ใช่แบบนั้นนั่น ท่านสอนด้วยความสงสาร ด้วยความเมตตา เขารักษาพรหมวิหาร แต่คนสอนไม่ได้ท่านไม่หาสอนหรอก เสียเวลาเปล่าๆ สอนคนที่สอนได้ไม่เสียเวลา"

        "ความเพียรนั้น มาหัดดูก่อน ว่าเราฐานะอะไร นักบวชไหม เราเป็นคฤหัสถ์ เราทำให้พอดี อย่าทำมากไป มันเกิน เกิดตัณหา ถ้าว่าตัณหา ไม่ได้ เกิดความอยากมีอยากเป็น เกิดตัณหาเกิดกิเลส ก็เลยไม่เป็น เหมือนพระอานนท์ พระพุทธเจ้าว่าหลังนิพพานแล้วเธอจะได้สำเร็จ เพื่อจะได้สังคายนา อยากจะได้สำเร็จ แต่ไม่ได้สำเร็จ จนเหนื่อย ก็เลยพักผ่อนก่อน พอปล่อยวางพักผ่อน เอนตัว สำเร็จเลย มากเกินไป หวังให้เป็น คนจะสำเร็จได้ มันต้องพอดีของมัน เหมือนผลไม้ มันใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แตงโม มันโตขึ้นเรื่อยๆ พอถึงขนาดมันหยุดโตเอง ลูกที่แดงมันก็หวาน เราเอาอะไรไปใส่ก็ตามใจแหละ เอาปุ๋ยอะไรไปใส่เผลอๆตาย ปุ๋ยกัดตาย เราใส่นั่นแหละ แต่ว่าพอดี ค่อยเป็นค่อยไป พอจะสุกมันหยุดโตมันจะสุกแล้ว แต่อย่าเร่งเสียก่อน ให้พอดี ให้มันเหมาะกับเพศ เพศเราเพศคฤหัสถ์ ไม่ใช่เพศพระ ไม่เหมือนกัน เพศพระถ้าไปเร่งหนักก็ไม่ได้ เขาสอนให้พอดี เดินสายกลางคือความพอดี แต่ว่าเราทำให้ได้ ให้ได้ทำทุกวันก็แล้วกัน ไม่ใช่ทำๆหยุดบ้าง ขี้เกียจก็หยุด อันนี้แสดงว่าเราไม่ติดต่อ"

ร่วมทำบุญบริจาคได้ที่


ผ่านพร้อมเพย์
วัดมหาธาตุแหลมสัก


หรือ

ธนาคารกรุงเทพ
สาขาอ่าวลึกจังหวัดกระบี่
เลขที่บัญชี 403-301606-6
บัญชี วัดแหลมสัก

ธนาคารกรุงไทย
สาขาอ่าวลึกจังหวัดกระบี่
เลขที่บัญชี 818-014971-4
บัญชี วัดแหลมสัก

ธนาคารกรุงไทย
สาขาอ่าวลึกจังหวัดกระบี่
เลขที่บัญชี 818-601433-0
บัญชี วัดแหลมสัก

ธนาคารธนชาต
สาขาอ่าวลึกจังหวัดกระบี่
เลขที่บัญชี 379-2-14545-7
บัญชี วัดแหลมสัก (สร้างเจดีย์)

ธนาคารออมสิน
สาขาอ่าวลึก
เลขที่บัญชี 020232571545
บัญชีเผื่อเรียก วัดมหาธาตุแหลมสัก ต.แหลมสัก

ธนาคารออมสิน
สาขาอ่าวลึก
เลขที่บัญชี 0000722736
บัญชีกระแสรายวัน วัดมหาธาตุแหลมสัก

ธนาคารเกียรตินาคิน
สาขากระบี่
เลขที่บัญชี 00352510007487
บัญชีออมทรัพย์ วัดแหลมสัก